การเขียนบรรณานุกรม

การเขียนบรรณานุกรม 

บรรณานุกรม (Bibliography) หมายถึง รายชื่อหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ และ วัสดุอ้างอิงทุกประเภท   ที่ผู้ทำรายงานใช้ประกอบการค้นคว้าและการเรียบเรียง    เพื่อเป็นการยืนยันว่าการเขียนนั้นเป็นการค้นคว้าจากตำราที่เชื่อถือได้

การเขียนบรรณานุกรมมีวิธีการดังนี้

1.เขียนคำว่าบรรณานุกรมโดยไม่ต้องขีดเส้นใต้ไว้กลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบกระดาษบนประมาณสองนิ้ว

2.เขียนรายการบรรณานุกรมแต่ละรายการชิดชอบซ้ายของหน้ากระดาษ หากเขียนไม่จบในบรรทัดเดียวให้ขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้าไป 8 ตัวอักษร (หรือตำแหน่งที่ย่อหน้า)

3.  เรียงรายชื่อแต่ละรายการตามลำดับตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง (ก-ฮ)

4.จัดเรียงเอกสารแยกตามประเภท คือ หนังสือ บทความในวารสาร หนังสือพิมพ์ สารานุกรม วิทยานิพนธ์ จุลสาร เอกสารอัดสำเนา และการสัมภาษณ์

5.หากมีรายการสิ่งพิม์ของผู้แต่งคนเดียวกันหลายฉบับ  ให้เขียนชื่อผู้แต่งเฉพาะรายการแรก ในรายการต่อไปไม่ต้องเขียนชื่อผู้แต่งซ้ำอีก แต่ให้ใช้สัญลักษณ์ดังนี้ ________________ ยาว 8 ตัวอักษร แทน

6.เว้นระยะ 1 บรรทัด ทุกครั้งเมื่อขึ้นรายการบรรณานุกรมรายการใหม่

หลักการเขียนบรรณานุกรม

 

1   ผู้แต่งที่มีราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ ให้ใส่ ไว้ข้างหลังชื่อ   คำนำหน้าชื่อ  อาชีพ หรือยศ ให้ตัดออกไป ยกเว้น นามแฝง เช่น นายตำรา ณ เมืองใต้, ดร.วินแม็ก, โดยหลังชื่อผู้แต่งให้ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)

2. ชื่อเรื่อง ให้ใช้ตามที่ปรากฏในหน้าปกและขีดเส้นใต้เน้นชื่อนั้นด้วย  หลังชื่อใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)

3.  ครั้งที่พิมพ์ ถ้าเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 2 ขึ้นไปให้ระบุครั้งที่พิมพ์ด้วย หลังครั้งที่พิมพ์ ใส่เครื่องหมาย มหัพภาค (.)

4 . สถานที่พิมพ์ ให้ระบุชื่อเมืองที่สำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์นั้นตั้งอยู่    หากไม่ปรากฏชื่อเมืองให้ใช้ ม.ป.ท.   คือ ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ หลังครั้งที่พิมพ์ใส่เครื่องหมายทวิภาค ( :  )

5 . สำนักพิมพ์ ใช้ตามที่ปรากฏในหน้าปกใน  ในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อสำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ ให้ใช้  ม.ป.ท.    แทน    หลังสำนักพิมพ์ใส่เครื่องหมายจุลภาค (,)

6 . ปีที่พิมพ์ ใส่เฉพาะตัวเลข ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ใช้ว่า  ม.ป.ป.     หลังปีที่พิมพ์ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)

 ตัวอย่างการเขียนบรณานุกรม

 

1. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม จากหนังสือเล่ม

ชื่อผู้แต่ง.ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.ปีที่พิมพ์.

วิทยากร เชียงกูล. ฉันจึงมาหาความหมาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.

2. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมที่มีผู้แต่ง 2 คน

ชื่อผู้แต่งทั้งสองคน. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.

สมบัติ จำปาเงิน และ สำเนียง มณีกาญจน์. หลักนักอ่าน. กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว, 2531.

3. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมหนังสือที่มีผู้แต่งมากกว่า 2 คน

ชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งคนอื่นๆ.ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.

อธิษกานต์ ไกรภักดี และคนอื่นๆ. การเมืองและการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ปานเทวาการพิมพ์, 2541.

  สุดท้ายก็เขียนจบจนได้   เก่งจริงๆ 

 

ขอบคุณที่มา   เว็บ http://www.dek-d.com/board/view.php?id=657681

21 Responses

  1. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนบรรณานุกรมเพื่อที่จะเขียนรายงานได้ถูกต้อง

  2. มีเนื้อหามากๆ

  3. ได้สึกษาแล้วค่ะ งานวันเด็กสนุกไหมค่ะ

  4. ด.ญ. วิภาพร เอี่ยมนาคะ ได้มาศึกษาเเล้วคะ

  5. ด.ญ.เสาวลักษณ์ โพนทานินทร์ ได้ศึกษาแล้วค่ะ

  6. ด.ญ.พัชรี และเชอ ม.2/2 เลขที่ 21 ได้เข้ามาศึกษาแล้วค่ะ

  7. ทำให้รู้เกี่ยวกับการเขียนบรรณานุกรมมากขึ้น

  8. หนูได้เข้ามาอ่านดูเรืื่องการเขียนบรรณานุกรรมเเล้วค่ะได้ความรูมากเลยฮะ
    อย่าลืมหื่อคะเเนนหนูเด้อค่้ะ

    ด.ญ.บัณฑิตา วุฒิ ม.2/4 เลขที่ 25

  9. ด.ญ.นุชรินทร์ คำมา ได้มาเรียนรู้แล้วคะ

  10. ได้ลงมาเขียวเรียบร้อยครับ
    ผมด.ช โสภณ คอยหลังครับ

  11. ทำให้เห็นถึงการเขียนบรรณานุกรมและสอนถึงการเขียนบรรณานุกรมให้มากขึ้นด้วย

  12. รู้เรี่องมากมายในการเขียน

  13. เขียนเรียบร้อยครับ

  14. ด.ญ.สุชีรา บุญเรือง ชั้น ม.2/1 เลขที่ 25
    ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าแล้วค่ะ

  15. ด.ช.ปัญญากร คำมา เลขที่ 5 ชั้น ม.2/1

  16. ด.ญ.ปรมาภรณ์ กันธะวิรส ชั้น ม.2/1 เลขที่ 16

  17. ด.ช.ฐิติกานต์ งามพักตร์ เลขที่2 ม.2/1
    ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าแล้วคับ

  18. หนูมาเรียนและเขียนแล้วค่ะเรียนด้วยตัวเองนี่มันสนุกจังเลยค่ะ
    อย่าคะแนนให้หนูด้วยเดี๋ยววันพรุ่งเอาไปสั่ง

  19. ได้เข้าไปดูแล้วครับ

ส่งความเห็นที่ jirapornkontakarnbow ยกเลิกการตอบ